ยินดีต้อนรับเข้าสู่ "เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก" อ.แม่จัน จ.เชียงราย โทร. 053-602591
 
 
ข้อมูลทั่วไป
•  วิสัยทัศน์
•  นโยบายของนายกเทศมนตรี
•  ยุทธศาสตร์การพัฒนา
•  สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่
•  ท้องถิ่นด้วยเทคนิค SWOT Analysis
•  ท่าข้าวเปลือกในอดีต
•  อำนาจหน้าที่
•  ประวัติตำบลท่าข้าวเปลือก
•  ระบบยื่นคำร้อง ออนไลน์ ผ่าน Google form
 
โครงสร้างบริหาร
•  โครงสร้างหน่วยงาน
•  คณะบริหาร
•  สมาชิกสภา
•  หัวหน้าส่วนราชการ
•  สำนักปลัด
•  กองคลัง
•  กองช่าง
•  กองการศึกษา
•  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
•  โครงสร้างศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1
•  โครงสร้างศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 2
•  หน่วยตรวจสอบภายใน
 
การเงิน-การคลัง
 
งานจัดเก็บรายได้
 
แผนพัฒนาท้องถิ่น
 
งบประมาณรายจ่าย
 
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
 
รายงานการประชุมสภาฯ
 
แผนการดำเนินงาน
 
รายงานผลการดำเนินงาน
 
แผนการจัดซื้อพัสดุ
 
ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
 
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 
เอกสารดาวน์โหลด
 
คู่มือบริการประชาชน
 
คู่มือ/มาตรฐานการปฎิบัติงาน
 
รายงานผลการปฏิบัติตามแผนป้องกันการทุจริตประจำปี
 
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
 
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต
 
รายงานการประชุมประชาคมตำบลท่าข้าวเปลือก
 
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 
ดาวน์โหลดแบบประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการ
 
ควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง
 
No Gift Policy
 
 
 
 
 

ท้องถิ่นด้วยเทคนิค SWOT Analysis

การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของตำบลท่าข้าวเปลือก  ด้วยเทคนิค SWOT Analysis

           1.  ศักยภาพการพัฒนาด้านพัฒนาองค์กรสู่การเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้

          จุดแข็ง (Strengths = S)

          1.  ด้านการบริหารจัดการผู้บริหาร ผู้นำสนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคุณภาพชีวิต สังคม สาธารณสุข การศึกษาอย่างต่อเนื่อง

          2.  มีการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน

          3.  ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ดูแลเด็กได้รับการพัฒนา ส่งเสริมให้มีความรู้เพิ่มขึ้นตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษาของผู้ดูแลเด็ก

          4.  มีเอกลักษณ์ที่หลากหลายทางชาติพันธุ์ทำให้มีการส่งเสริมให้มีการนำประเพณีของแต่ละชาติพันธุ์มาสู่การอนุรักษ์และเผยแพร่

5. มีภูมิปัญญาและปราชญ์ท้องถิ่นที่มีความรู้ความเชียวชาญในเรื่องของประเพณีวัฒนธรรมและการขับร้อง

          6.  มีการพัฒนาการกีฬาและนันทนาการในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

          7.  มีการพัฒนาส่งเสริมด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

          8.  มีการบริการด้านการแพย์ฉุกเฉินและบริการแพทย์แผนไทยให้กับประชาชนครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

          จุดอ่อน (Weaknesses = W)

          1.  มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ส่งผลให้เยาวชนเกิดปัญหาสังคม

2.  ประชาชนบางส่วนได้รับการศึกษาไม่ถึงเกณฑ์

3.  ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและบรรเทาโรคติดต่อไม่เพียงพอ

4.  ประชาชนให้ความสำคัญด้านสุขภาพอนามัยในระดับต่ำ

5.  บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วยและโรคระบาด

6.  มีประชากรแฝงจำนวนมากในการแย่งแรงงานและไม่มีข้อมูลในการควบคุมดูแล

7.  ไม่มีระบบการเตือนภัยและเฝ้าระวังทางธรรมชาติทำให้ไม่สามารถเตรียมพร้อมการเคลื่อนย้าย อพยพ

8.  โครงสร้างพื้นฐานเช่น สะพาน ถนน ชำรุดมีอายุการใช้งานมาก ประชาชนยังขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค

          โอกาส (Opportunities = O)

1.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและการสาธารณสุขเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่รัฐบาลส่งเสริม

2.  การส่งเสริมด้านการจัดสวัสดิการสังคมซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลมีกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น

3.  รัฐบาลให้การสนับสนุนนโยบายด้านการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและสถานศึกษาของท้องถิ่น

4.  การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเข้าสู่การบริหารจัดการของเทศบาล

5.  นโยบายรัฐบาลในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนทำให้เกิดการสร้างงานในเขตพื้นที่ใกล้เคียง

6.  มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ทั่วถึงทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ทันสมัยได้

          อุปสรรค (Threats = T)

1.  การประสานงานเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเกิดความซ้ำซ้อนของงบประมาณทำให้เสียโอกาสพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2.  ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ซึ่งส่วนมากเป็นโครงการที่เกินศักยภาพที่เทศบาลจะดำเนินการได้

3.  การแก้ไขปัญหาด้านสังคมและการสาธารณสุข เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่ต้องประสานงานกัน จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์

4.  ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำกัดแนวทางการดำเนินการทำให้การดำเนินงานล่าช้า

5.  มีงบประมาณในการบริหารและพัฒนาท้องถิ่นไม่เพียงพอ

 

          2.  ศักยภาพการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐาน

          จุดแข็ง (Strengths = S)

          1.  มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งเชิงพุทธศาสนา ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

          2.  มีภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างตัวจังหวัดกับเขตเศรษฐกิจชายแดน

          3.  ผู้บริหารทุกระดับและประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

          4.  มีทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับท้องถิ่นและชุมชน

          จุดอ่อน (Weaknesses = W)

          1.  สถานที่ท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความเป็นมาตรฐาน

          2.  ราษฎรขาดความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          โอกาส (Opportunities = O)

1.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่รัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุน

2.  มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในพื้นที่

          อุปสรรค (Threats = T)

1.  มีงบประมาณในการบริหารและพัฒนาท้องถิ่นไม่เพียงพอ

          2.  ระเบียบ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยุ่งยากสลับซับซ้อน หลายขั้นตอนทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว เกิดความล่าช้าในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว

 

          3.  ศักยภาพการพัฒนาด้านการเกษตรยั่งยืน

          จุดแข็ง (Strengths = S)

          1.  มีพื้นที่มีศักยภาพในการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ข้าว สับปะรด ข้าวโพด ถั่ว ฟักทอง มันสำปะหลัง แตงโม เสาวรส เป็นต้น  ทำให้ประชาชนมีรายได้

2.  มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งต้นน้ำในการสนับสนุนการปลูกพืชทางการเกษตร และมีพันธุ์ปลา พันธุ์สัตว์ ส่งผลให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ และเป็นศูนย์กลางการรับซื้อและกระจายพันธุ์สัตว์น้ำ

3.  พื้นที่มีศักยภาพในการทำการประมง ปศุสัตว์

          จุดอ่อน (Weaknesses = W)

          1.  การว่างงานนอกฤดูทำการเกษตร

          2.  ขาดตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร

          3.  ขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง

4.  ไม่มีอ่างเก็บน้ำในการรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนทำให้ช่วงฤดูแล้งไม่มีน้ำใช้ในการทำการเกษตรและฤดูฝนน้ำจะท่วมพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัย

          โอกาส (Opportunities = O)

1.  การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

2.  เครือข่ายสถาบันภาครัฐภายนอกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับท้องถิ่น

          อุปสรรค (Threats = T)

1.  ราคาของสินค้าเกษตรมีความไม่แน่นอนทำให้เกษตรกรมีรายได้น้อย

4.  ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำกัดแนวทางการดำเนินการทำให้การดำเนินงานล่าช้า

 

          4.  ศักยภาพการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง

          จุดแข็ง (Strengths = S)

1.  มีวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง เช่น โรงสุรากลั่น ขนมจีน หนังปอง ปลาร้าแห้ง จักสานหวาย   ไม้ไผ่ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างคุ้มค่า

          2.  มีกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชน

          3.  ประชาชนในตำบลมีฝีมือและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ได้แก่

จักสาน

          4. พื้นที่เป็นทางผ่านไปสู่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ซึ่งส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

          จุดอ่อน (Weaknesses = W)

          1.  ประชาชนมีฐานะยากจน มีอาชีพเสริมไม่เพียงพอในการเพิ่มมูลค่าของรายได้

          2.  ขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการประกอบการ

          3.  กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ขาดทักษะและความชำนาญ

          4.  ไม่มีจุดรวมสินค้าและจุดแสดงสินค้าประจำตำบล

          5.  ความหลากหลายของรูปแบบสินค้า OTOP ยังมีน้อย เป้าหมายการตลาดเฉพาะกลุ่ม

          โอกาส (Opportunities = O)

1.  การพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงรายส่งผลให้ท่าข้าวเปลือกเป็นเส้นทางผ่านในการขนส่งสินค้าและเพิ่มมูลค่าสินค้าของท้องถิ่น

2.  นโยบายรัฐบาลในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนทำให้เกิดการสร้างงานในเขตพื้นที่ใกล้เคียง

3.  เครือข่ายสถาบันภาครัฐภายนอกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับท้องถิ่น

4. การส่งเสริมสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

5.  การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

          อุปสรรค (Threats = T)

1.  สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับโลก ระดับประเทศ รวมถึงระดับภูมิภาคตำต่ำ ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นเนื่องจากงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอที่จะพัฒนาให้ได้พร้อมกันในทุกด้าน

2.  ระเบียบ กฎหมายไม่สามารถรองรับหรือสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

 

          5.  ศักยภาพการพัฒนาด้านส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาล

          จุดแข็ง (Strengths = S)

1.  ด้านการบริหารจัดการ ผู้นำ ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านเมืองและการบริหารอย่างชัดเชน

2.  เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เข้าถึงประชาชนได้ง่าย

          จุดอ่อน (Weaknesses = W)

          1.  ประชาชนยังขาดกระบวนการเรียนรู้ด้านการเมืองการปกครอง

          2.  ประชาชนยังขาดความสนใจในด้านการมีส่วนร่วมใกนาประชุมประชาคม แสดงความคิดเห็นด้านการเมืองการปกครองและการบริหารหรือการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้การดำเนินการเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะกลุ่ม

          3.  ประชาชนไม่เข้าใจระบบการบริหารงานของเทศบาล ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการติดต่อประสานงานอยู่บ่อยครั้ง

          4.  พนักงานส่วนท้องถิ่นและพนักงานจ้างยังขาดกระบวนการทำงานที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้มากที่สุดกว่าที่เป็นอยู่

          5.  ระบบการบริหารจัดการของภาครัฐยังมีกฎระเบียบที่ยุ่งยากทำให้การให้บริการประชาชนยังขาดความคล่องตัวและมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก

          โอกาส (Opportunities = O)

1.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารราชการที่ดีเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่รัฐบาลให้การสนับสนุนส่งเสริม

2.  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีการฝึกอบรมข้าราชการ พนักงานให้มีความรู้ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

3.  มีการส่งเสริมการสร้างพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

 อุปสรรค (Threats = T)

           1.  ระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีการแก้ไข เช่น กฎหมายจัดตั้งและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น เป็นต้น

 


หนังสือราชการ สถ.

 
หนังสือราชการ สถ. จ.เชียงราย

 
ข่าวสาร งานเชียงราย
 
 
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ "เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก" อ.แม่จัน จ.เชียงราย โทร. 053-602590

ออนไลน์ขณะนี้ 7 ไอพี ผู้เยี่ยม 1053740 ครั้ง

เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก เลขที่ 98 หมู่ 13 ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 57110
โทรศัพท์ : 053-602590 โทรสาร : 053-602591 E-mail :Takhaopleuk@gmail.com

@2019 เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก ออกแบบและพัฒนาโดย :เชียงรายเอ็นเทอร์ซอฟ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น