ยินดีต้อนรับเข้าสู่ "เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก" อ.แม่จัน จ.เชียงราย โทร. 053-602591
 
 
ข้อมูลทั่วไป
•  วิสัยทัศน์
•  นโยบายของนายกเทศมนตรี
•  ยุทธศาสตร์การพัฒนา
•  สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่
•  ท้องถิ่นด้วยเทคนิค SWOT Analysis
•  ท่าข้าวเปลือกในอดีต
•  อำนาจหน้าที่
•  ประวัติตำบลท่าข้าวเปลือก
•  ระบบยื่นคำร้อง ออนไลน์ ผ่าน Google form
 
โครงสร้างบริหาร
•  โครงสร้างหน่วยงาน
•  คณะบริหาร
•  สมาชิกสภา
•  หัวหน้าส่วนราชการ
•  สำนักปลัด
•  กองคลัง
•  กองช่าง
•  กองการศึกษา
•  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
•  โครงสร้างศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1
•  โครงสร้างศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 2
•  หน่วยตรวจสอบภายใน
 
การเงิน-การคลัง
 
งานจัดเก็บรายได้
 
แผนพัฒนาท้องถิ่น
 
งบประมาณรายจ่าย
 
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
 
รายงานการประชุมสภาฯ
 
แผนการดำเนินงาน
 
รายงานผลการดำเนินงาน
 
แผนการจัดซื้อพัสดุ
 
ผลการจัดซื้อจัดจ้าง
 
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 
เอกสารดาวน์โหลด
 
คู่มือบริการประชาชน
 
คู่มือ/มาตรฐานการปฎิบัติงาน
 
รายงานผลการปฏิบัติตามแผนป้องกันการทุจริตประจำปี
 
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
 
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต
 
รายงานการประชุมประชาคมตำบลท่าข้าวเปลือก
 
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 
ดาวน์โหลดแบบประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการ
 
ควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง
 
No Gift Policy
 
มาตรฐานทางจริยธรรม
 
 
 
 
 

ท่าข้าวเปลือกในอดีต

 ท่าข้าวเปลือกในอดีต

          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบางยุคบางสมัยในดินแดนนี้ บางครั้งก็มีความคลาดเคลื่อนกันไปทั้งทางด้านสถานที่หรือด้านของเวลา จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปอย่างชัดเจนว่า หลักฐานใดถูกต้อง สำหรับอาณาจักรโบราณและเมืองต่างๆ อันเป็นที่ตั้งของตำบลท่าข้าวเปลือกในปัจจุบัน ที่ปรากฎในตำนานหรือพงศาวดารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น นักวิชาการในท้องได้แบ่งประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

ยุคอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน

          เรื่องราวของอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน (ช้างแส่งก็เรียก) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน หรือเมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตินครนั้น เป็นเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนกได้กล่าวถึงมหากษัตริย์องค์หนึ่ง ชื่อว่า เทวกาละ ครองราชย์สมบัติเป็นใหญ่แก่ไทยทั้งหลายในเมืองนครไทยเทศอันมีเมืองราชคหะ (ราชคฤห์) เป็นนครหลวง พระองค์นั้นมีราชโอรส และราชธิดา รวมทั้งหมด ๖๐ พระองค์ ราชโอรสองค์แรกมีพระนามว่า พิมพิสารราชกุมาร องค์ที่สองมีพระนามว่า สิงหนวัติกุมาร (บางตำราเป็นสิงหนติกุมาร และเพี้ยนไปเป็น สีหนติกุมาร หรือศรีหนติกุมาร ก็มี) ด้วยเหตุว่ามีลักษณะและกำลังดุจราชสีห์นั่นเอง

          เมื่อนั้น มหากษัตริย์ผู้เป็นพ่อได้แบ่งราชสมบัติให้แก่ราชโอรสและธิดาทั้ง ๖๐ พระองค์แล้ว ได้แต่งตั้งให้เจ้าพิมพิสารโอรสองค์แรกเป็นอุปราชา และให้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาผู้หนึ่งให้อยู่ในเมืองราชคฤห์นครหลวง ส่วนโอรสและราชธิดา ๒๙ คู่นั้น ให้จับคู่กันแล้วแยกย้ายออกไปตั้งบ้านเมืองอยู่ตามที่ต่างๆ

          ส่วนเจ้าสิงหนวัติกุมารโอรสที่สองกับน้องหญิงผู้หนึ่งได้แบ่งเอาราชสมบัติพร้อมไพร่พลแสนหนึ่งแล้วก็เสด็จออกจากเมืองราชคฤห์นครหลวง ข้ามแม่น้ำสระพูมุ่งหน้าไปทางทิศอาคเนย์ออกจากเมืองราชคฤห์ได้ ๔ เดือน “พอถึงเดือน ๕ ออก ๑๑ ค่ำ วันศุกร์ ก็เสด็จถึงประเทศหนึ่งที่มีสัณฐานราบเปียงเรียงงาม มีแม่น้ำใหญ่ น้ำฮาม น้ำน้อยมากนัก ก็บ่อพอไกลขรนที (แม่น้ำโขง) เท่าใดนัก แลมีน้ำห้วยน้อยอันจักสร้างไร่นาดีนักแลเป็นแว่นแคว้นเมืองสุวรรณโคมคำเก่าอันร้างไปแล้วนั้น ในกาลนั้น มีแต่พวกลัวะ มิละขุ คือ ชาวป่าชาวดอยทั้งหลาย ยังอยู่ในซอกห้วยราวเขาภูดอยไคว่จุ ที่แล้ว และมีขุนหลวง ผู้หนึ่ง นามว่า ปู่เจ้าลาวจก เป็นใหญ่แก่มิละขุทั้งหลาย ก็ยังอยู่ดอยดินแดงอันมีหนประจิมทิศประเทศนั้น แลยามนั้นสิงหนวัติกุมารก็มารอดถึงที่หนึ่งหมดใสกว้างนัก บ่ไกลแม่น้ำใหญ่ แม่น้ำฮาม แม่น้ำน้อยมากแล แลห่างจากแม่น้ำขรนทีนั้น ๗,๐๐๐ วา แลเมืองสุวรรณโคมคำเก่านั้น อยู่เบื้องฝ่ายแม่น้ำขรนทีก้ำหน้านั้นแล”

          ในตำนานนั้นได้กล่าวอีกว่า “เมื่อนั้นท่านก็ให้แปงปางจอดยั้งเอาชัยอยู่ที่นั้นรอดเดือนสี่ ขึ้นหนึ่งคำวันศุกร์ มหาศักราชขึ้นใหม่แถมตัวหนึ่งเป็น ๑๘ ตัวปีล้วงเป้า วันนั้นยังมีพญานาคตัวหนึ่ง มีชื่อว่า “พันธุนาคราช” ก็มาเนรมิตตนเป็นพราหมณ์ผู้หนึ่ง แล้วเข้ามาสู่ที่แห่งเจ้าสิงหนวัติกุมาร แล้วกล่าวว่า “ดูกรเจ้ากุมารท่านนี้ เป็นลูกท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือว่าเป็นลูกเศรษฐีหรือคหบดี กระฎุมพี แลว่าพ่อค้า อั้นจา ลูกบ้านใดเมืองใดมานั้นจากแลเจ้ากุมารเห็นว่ามีประโยชน์อันใดจา จึงมายั้งพักยังสถานที่นี้ ว่าอั้น” ว่าดังนี้ เมื่อนั้นเจ้าสิงหนุวัติกุมาร กล่าวว่า “ดูกรท่านพราหมณ์ เรานี้หากเป็นลูกกษัตริย์ตนหนึ่ง ชื่อว่าเทวกาละ ผู้เป็นเจ้าแผ่นดินเมืองราชคฤห์นครหลวงพ้นแล เรามานี่เพื่อจักแสวงหาที่ควรสร้างบ้านตั้งเมืองอยู่แล ว่าอั้น” เมื่อนั้น นาคพราหมณ์ก็ว่า “ดีแม้แลท่านจุ่งมาตั้งที่นี้ให้เป็นบ้านเมืองอยู่เทอะ จักวุฒิจำเริญดี จักบริบรูณ์ด้วยข้าวของราชสมบัติประการหนึ่ง ข้าศึกศัตรูทั้งหลาย เป็นต้นว่าศึกมหานครเมืองใหญ่ทั้งหลาย จักมารบก็เป็นอันยากเหตุว่าแม่น้ำใหญ่ สะเภาเลากาจักมาก็ไม่ถึง แต่ว่าขอให้มีสัจจะรักษายังข้าคนและสัตว์ทั้งหลายแด่เทอะ”

          เมื่อนั้น เจ้าสิงหนุวัติกุมารจึงกล่าวว่า “ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่านนี้อยู่ที่ใด อยู่บ้านเมืองใด และมีชื่อว่าดังฤา” นาคพราหมณ์ก็กล่าวว่า “ข้านี้มีชื่อว่าพันธุพราหมณ์ อยู่รักษาประเทศที่นี่มาตั้งแต่ตระกูลเค้ามาแล” ท่านจุ่งใช้สัปปรุริสะแห่งท่านไปตามดูที่อยู่แห่งข้าเทอะ ว่าอั้น” แล้วก็กล่าวอำลาเจ้าสิงหนวัติกุมารออกไปแลเจ้าสิงหนวัติกุมารจึงใช้ให้บ่าวแห่งท่านตามไปดู ๗ คน ไปทางหนหรดี ไกลประมาณ ๑,๐๐๐ วา แล้วก็ลวดหายไปเสียแล เมื่อนั้นบ่าวทั้ง ๗ คน จึงกลับคืนมาบอกแก่เจ้าแห่งเขา ตามดั่งที่ได้เห็นมานั้นทุกประการแล เจ้าสิงหนวัติกุมารได้ยินคำดังนั้นก็สลั่งใจอยู่แล ส่วนว่านาคพราหมณ์ผู้นั้นก็เอาเพศเป็นพญานาคดังเก่าแล้วก็ทวนบ่นไปให้เป็นเขตคูเวียง กว้าง ๓,๐๐๐ วา รอดชุกล้ำ แล้วก็หนีไปสู่ที่อยู่แห่งตนในกลางคืนนั้นแล ครั้งรุ่งแจ้งแล้ว เจ้าสิงหนวัติกุมารเห็นเป็นประการฉะนั้นแล้วก็มีใจชื่นชมยิ่งนัก จึงให้หาพราหมณ์อาจารย์มา แล้วก็ตรัสถามว่า “พราหมณ์ผู้มาบอำให้แก่เรานั้น จักเป็นเทวบุตร เทวดาพระยาอินทร์ พรหมดังฤา” พราหมณ์อาจารย์จึงกล่าวว่า “ตามดั่งข้าผู้เฒ่ามาพิจารณาดูนี้ คงจะเป็นพญานาคเป็นแม่แท้” เมื่อนั้นก็พร้อมกันเข้ายังเรือนหลวง แล้งตึ้งหอเรือนบริบูรณ์แล้วก็เข้าอยู่เป็นเมืองใหญ่ แล้วพราหมณ์อาจารย์ผู้นั้นก็พิจารณาเอาชื่อพญานาคพันธุ์นั้น กับชื่อกุมารผู้เป็นเจ้าชื่อสิงหนวัตินั้นมาผสมกัน แล้วเรียกนามเมืองนั้นว่า เมืองพันธุสิงหนวัตินคร นั้นแล

          เมื่อเจ้าสิงหนวัติกุมารได้เป็นเจ้าเมืองพันธุสิงหนวัตินครแล้ว ได้มีอาชญาเรียกว่าเอาขุนหลวงมิลักขุทั้งหลาย ให้เข้ามาสู่สมภารแห่งพระองค์นั่นแล แต่นั้นไปภายหน้าได้ ๓ ปี ยังมีเมืองอันหนึ่งอยู่หนหรดีไกลประมาณ ๔ คืนทาง มีข้างหัวกุกกะนที (แม่น้ำกก) ที่นั่น ชื่อว่า เมืองอุมงคเสลานคร เมืองนั้นเป็นที่อยู่ของชาวขอมทั้งหลาย และส่วนว่าเมืองขอมนี้ก็เป็นเมืองพร้อมกันกับเมืองสุวรรณโคมคำ แต่ครั้งสมัยศาสนาพระกัสสปะและยังไม่เคยเป็นเมืองร้างเลย พระยาขอมเจ้าเมืองอุมงคเสลานครนั้น มีมานะกระด้างไม่ยอมเข้าสู่บรมโพธิสมภาร เจ้าสิงหนวัติ พระองค์จึงยกกำลังรี้พลไปรบเอาเมืองอุมงคเสลานครได้เข้าสู่บรมโพธิสมภารแต่นั้นมา มหาศักราชได้ ๒๒ ตัว ปีดังไส้ ตั้งเมืองพันธุสิงหนวัตินครได้ ๕ ปี ถึงปีนั้นท่านก็ปราบได้ล้านนาไทยทั้งมวลแล เสนาอำมาตย์พราหมณ์อาจารย์ ไร่ไทยทั้งหลาย ก็พร้อมใจกันราชาภิเษกยังเจ้าสิงหนวัติราชกุมารขึ้นเป็นเอกราชมหากษัตริย์ตั้งแต่นั้นมา และเมืองนี้ก็บริบูรณ์ด้วยผู้คน ช้างม้าวัวควายสมบัติมากนัก เกิดเป็นเมืองใหญ่แต่นั้นมา มีอาณาเขตดังนี้

          ทิศบูรพา         มีแม่น้ำขรนทีเป็นแดน     ทิศปัจฉิม  มีดอยรูปช้างชุนน้ำย้อยมาหาแม่คงเป็นแดน

ทิศอุดร มีต่าง(เขื่อน)หนองแสเป็นแดน ทิศทักษิณ มีลวะรัฐเป็นแดน

          บ้านเมืองก็มีความสงบสุขร่มเย็นตลอดสมัยของพระเจ้าสิงหนวัติ พระองค์ครองราชย์สมบัติได้ ๑๐๒ ปี มีอายุได้ ๑๒๐ ปี (บางตำนานก็ว่าครองราชย์ได้ ๕๒ ปี) ในภายหลังอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน ที่มีเมืองพันธุสิงหนวัตินครเป็นเมืองหลวงนั้น ตำนานได้กล่าวไว้ว่า ได้มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องต่อกันมาประมาณกว่า ๔๐ พระองค์ ซึ่งบางพระองค์ก็จะปรากฏพระนามในตำนานของการสร้างเมืองใหม่ หรือโบราณสถานที่ยังคงมีมาอยู่จนถึงยุคปัจจุบัน ได้แก่ พระเจ้าอชุตราช กษัตริย์องค์ที่ ๓ เป็นผู้สร้างพระธาตุเจ้าดอยตุง พระองค์ไชยนารายณ์โอรสองค์ที่สองของ พระเจ้ามังรายนราช กษัตริย์องค์ที่ ๔ เป็นผู้สร้างเวียงไชยนารายณ์ พระองค์เว่าหรือพระองค์เวากษัตริย์องค์ที่ ๑๐ เป็นผู้สร้างพระธาตุดอยเวา (ที่อำเภอแม่สายในปัจจุบัน) เป็นต้น

 

รายนามกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน

(จากพงศาวดารโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร)

๑.สิงหนกุมาร

๒.คันธกุมาร

๓.อชุตราช

๔.มังรายนราช

๕.พระองค์เชือง

๖.พระองค์ชืน

๗.พระองค์ดำ

๘.พระองค์เกิง

๙.พระองค์ชาติ

๑๐.พระองค์เวา

๑๑.พระองค์แวน

๑๒.พระองค์แก้ว

๑๓.พระองค์เงิน

๑๔.พระองค์ตน

๑๕.พระองค์งาม

๑๖.พระองค์ลือ

๑๗.พระองค์รวย

๑๘.พระองค์เชิง

๑๙.พระองค์กัง

๒๐.พระองค์เกา

๒๑.พระองค์พิง

๒๒.พระองค์ศรี

๒๓.พระองค์สม

๒๔.พระองค์สวรรย์ (สวน)

๒๕.พระองค์แพง

๒๖.พระองค์พวน

๒๗.พระองค์จักทร์

๒๘.พระองค์ฟู

๒๙.พระองค์ผัน

๓๐.พระองค์วัง

๓๑.พระมังสิงห์

๓๒.พระมังแสน

๓๓.พระมังสม

๓๔.พระองค์ทิพ

๓๕.พระองค์กอง

๓๖.พระองค์กม (กลม)

๓๗.พระองค์ชาย (จาย)

๓๘.พระองค์ชิน (จิน)

๓๙.พระองค์ชม (จม)

๔๐.พระองค์กัง (ปัง)

๔๑.พระองค์กิง (พึง)

๔๒.พระองค์เกียง (เปียง)

๔๓.พระองค์พัง (พังคราช)

๔๔.ทุกชิต

๔๕.มหาวัน

๔๖.มหาไชยชนะ

 

 

 

          อาณาจักรโยนก ได้มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนสมัยพระองค์มหาไชยชนะ อาณาจักรจึงได้ถึงกาลล่มจม ดังปรากฏในตำนานสิงหนวัติที่กล่าวว่า ได้มีชาวเมืองไปได้ปลาไหลเผือก พระองค์จึงให้ตัดเป็นท่อนแจกกันกินทั่วทั้งเวียง และในคืนนั้นก็ได้เกิดมีเหตุเสียงดังสนั่นเหมือนกับแผ่นดินไหวถึงสามครั้ง จนเป็นเหตุให้เมืองโยนกถล่มกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ยังคงเหลือบ้านของหญิงหม้ายคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อปลานั้นจากชาวเมืองไปบริโภค ในปัจจุบันหนองน้ำดังกล่าวจึงได้มีผู้สันนิษฐานไปต่างๆกัน บ้างก็สันนิฐาฯว่าคือทะเลสาบเชียงแสน(หนองบงกาย) ในเขตอำเภอเชียงแสน บ้างก็ว่าคือเวียงหนองล่ม (เวียงหนองหรือเมืองหนอง) ในเขตอำเภอแม่จัน เนื่องจากมีชื่อสถานที่ต่างๆได้ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น เช่น บ้านแม่ลาก ก็หมายถึงตอนที่ชาวเมืองได้ช่วยกันลากปลาไหลตัวนั้น บ้านแม่ลัว (คงเลือนมาจากคำว่าคัว) ก็หมายถึงตอนที่ได้ชำแหละปลาไหลนั้นเพื่อแจกจ่ายกัน แม่น้ำกก หมายถึงตัดเป็นชิ้นๆ ซึ่งชื่อดังกล่าวนี้ปัจจุบันมีอยู่ในท้องที่ของตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน และยังมีผู้สันนิฐานว่า คือหนองหลวง ในเขตอำเภอเวียงชัยอีกด้วย

          หลังจากที่อาณาจักรโยนกได้ล่มสลายพร้อมด้วยราชวงศ์ดังกล่าวแล้ว ชาวเมือง จึงได้ปรึกษากันพร้อมใจกันยกให้ขุนลัง ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาเป็นผู้ปกครองแทนราชวงศ์ ว่ากันว่าเป็นต้นแบบของประชาธิปไตย เนื่องจากผู้นำได้มาจากการประชุมปรึกษาหารือกันคล้ายระบบการเลือกตั้ง จึงเป็นที่มาของชื่อ”เวียงปรึกษา” เวียงปรึกษาได้มีผู้ปกครองสืบต่อกันมา ๑๕ คน เป็นระยะเวลา ๙๓ ปี


หนังสือราชการ สถ.

 
หนังสือราชการ สถ. จ.เชียงราย

 
ข่าวสาร งานเชียงราย
 
 
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ "เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก" อ.แม่จัน จ.เชียงราย โทร. 053-602590

ออนไลน์ขณะนี้ 47 ไอพี ผู้เยี่ยม 1327454 ครั้ง

เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก เลขที่ 98 หมู่ 13 ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 57110
โทรศัพท์ : 053-602590 โทรสาร : 053-602591 E-mail :Takhaopleuk@gmail.com

@2019 เทศบาลตำบลท่าข้าวเปลือก ออกแบบและพัฒนาโดย :เชียงรายเอ็นเทอร์ซอฟ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น